ลุงหมอ สวนโพธิ์

Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

2 posters

    หมักมะกรูด

    avatar
    ป้าเพ็ญ
    สมาชิกทั่วไป
    สมาชิกทั่วไป


    จำนวนข้อความ : 99
    Join date : 29/11/2011

    หมักมะกรูด Empty หมักมะกรูด

    ตั้งหัวข้อ  ป้าเพ็ญ Wed Aug 15, 2012 11:26 am

    ขอคำแนะนำด้วยค่ะ น้ำหมักมะกรูด อยากทราบประโยชน์ใช้ได้อย่างไรค่ะ นอกจากเอามาทำน้ำยาล้างจานและแชมพู ถ้าเรานำมาบริโภคช่วยอะไรได้บ้างค่ะ
    ลุงหมอ
    ลุงหมอ
    ผู้ก่อตั้ง
    ผู้ก่อตั้ง


    จำนวนข้อความ : 6844
    Join date : 20/11/2010

    หมักมะกรูด Empty Re: หมักมะกรูด

    ตั้งหัวข้อ  ลุงหมอ Wed Aug 15, 2012 11:49 am

    ป้าเพ็ญ พิมพ์ว่า:ขอคำแนะนำด้วยค่ะ น้ำหมักมะกรูด อยากทราบประโยชน์ใช้ได้อย่างไรค่ะ นอกจากเอามาทำน้ำยาล้างจานและแชมพู ถ้าเรานำมาบริโภคช่วยอะไรได้บ้างค่ะ

    Very Happy Laughing Shocked มะกรูด? แก้ลม บำรุงหัวใจ ใช้ผิวสดหั่นเป็นชิ้น ผสมการะบูรหนึ่งหยิบมือ ชงน้ำเดือด คนให้ละลาย ปิดฝาทิ้งไว้ 3 – 5 นาที ดื่มเอาแต่น้ำ ช่วยให้ระบบไหลเวียนของโลหิตดี
    - ยาขับเสมหะ แก้ไอ ใช้ผลมะกรูดผ่าซีกเติมเกลือลนไฟให้เปลือกนิ่มบีบน้ำมะกรูดลงในคอทีละน้อย ๆ
    - เป็นยาสระผมหรืออาบ นำมะกรูดผ่าซีกลงในหม้อต้มอาบได้น้ำมันหอมระเหยอยู่บนผิวทำให้ผิวไม่แห้ง และรสเปรี้ยวของมะกรูดช่วยให้อาบสะอาดนอกจากนี้ใช้มะกรูดผ่าซีกเอาน้ำมาสระผม

    นอกจากมะกรูดจะยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดีแล้วยังมีรายงานว่าน้ำมันจากใบมะกรูดจะกระตุ้นการเจริญของเชื้อราบางชนิดได้อีกด้วย เช่น กระตุ้นการสร้างเส้นใยของราพวกมูเคอร์ อัลเทอร์นาเรีย แอสเปอร์จิลลัส และกระตุ้นการสร้างสปอร์ของแอสเปอร์จิลลัส (บัญญัติ, 2527)


    สารเคมีที่สำคัญ


    สารเคมีที่สำคัญที่พบในมะกรูดนี้จะอยู่ในส่วนของน้ำมันหอมระเหยซึ่งมีทั้งในส่วนใบและเปลือกของผลที่เรียกว่า ผิวมะกรูด โดยที่ผิวมะกรูดจะมีน้ำมันหอมระเหย 4 เปอร์เซ็นต์ และใบจะมีน้ำมันหอมระเหย 0.08 เปอร์เซ็นต์

    มะกรูดเป็นพืชเครื่องเทศและพืชสมุนไพรมนุษย์ได้รู้จักนำเอาประโยชน์ที่ได้รับจากมะกรูดเป็นยารักษาโรคหรือส่วนผสมของยา ช่วยแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้ดองยาเพื่อใช้ฟอกเลือดและบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะและระงับการไอ ส่วนใบใช้ในการดับกลิ่นคาวในอาหารใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด และผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงค์ใส่แทนใช้เป็นยาแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องหอมและเครื่องสำอางและน้ำของมะกรูดมีกรด Citric ช่วยขจัดคราบสบู่ (ด่าง) ที่หลงเหลืออยู่ น้ำมันจากผิวมะกรูดช่วยให้ผมดกเป็นเงางาม นอกจากนี้ผิวมะกรูดจะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ต่าง ๆ ได้ เพื่อกำจัดรังแคที่มาจากเชื้อรา

    farao คติความเชื่อ มะกรูดเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน โดยกำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้อยู่อาศัย จะได้มีความสุข และในบางตำราว่าเป็นความเชื่อของคนบ้านป่า ที่เดินทางด้วยเกวียนเทียม วัวหรือควายเมื่อได้กลิ่นสาบเสือ จะหยุดเดิน เจ้าของจะต้องขูดผิวมะนาวหรือมะกรูด ป้ายจมูกให้ดับกลิ่นสาบเสือก่อน จึงจะเดินต่อไป ดังนั้นการเดิน ทางสมัยก่อนผ่านป่า ผู้เดินทางจึงมักจะพกพามะนาว และมะกรูดติดตัวไปด้วยเสมอ

    ในพิธีกรรมการทำน้ำมนต์เพื่อสะเดาะเคราะห์ สำหรับพรมหรืออาบผู้ป่วยใบมะกรูดเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะขาดไม่ได้โดยใช้ร่วมกับใบส้มป่อย ใบเงินใบทอง ใบมะตูม หญ้าแพรก หมากผู้หมากเมีย ใบราชพฤกษ์ เชื่อกันว่าใบจากต้นไม้มงคลเหล่านี้ จะช่วยปัดเป่าและบรรเทาเคราะห์โศกลงไปได้

    สรรพคุณทางยา ในน้ำมะกรูด มีกรดซิตริก เป็นสารหลัก คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 ไนอาซิน วิตามินซี

    ++ น้ำมะกรูด มีรสเปรี้ยวแก้น้ำลายเหนียว แก้ปวดท้อง แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน บีบน้ำมะกรูดลงคอ 5-6 หยด ทุก 5-10 นาที แก้ไอช่วยละลายขับเสมหะ ฟอกเลือด การนำมาใช้เพื่อขับลม เราจะต้องฝานผิวมะกรูดสดเป็นชิ้นเล็กๆ เติมการบูรหรือพิมเสน ชงในน้ำเดือดแช่ทิ้งไว้ ดื่มแต่น้ำ ใช้สระผม ผ่ามะกรูดเป็น 2 ชิ้น สระผมเสร็จแล้ว เอามะกรูดสระซ้ำ หลังจากนั้น ล้างผมออกให้หมด หรือจะใช้ผลมะกรูดเผาไฟผ่าซีก สระผมช่วยบำรุงผมให้ดกดำเป็นเงางามการใช้มะกรูดนวดแทนยานวดผมยังบำรุงรากผมไม่ทำให้ร่วงง่าย ไม่หงอกเร็ว ผมลื่นหวีง่าย และยังมีฤทธิ์ทำลายเชื้อราที่หนังศรีษะ จะรักษาชันนะตุอีกด้วย


    ++ ผิวผลสดและผลแห้ง รสปร่า หอมร้อน สรรพคุณแก้ลมหน้ามืด แก้วิงเวียน บำรุงหัวใจ ขับลมลำไส้ ขับระดู

    ++ ราก รสเย็นจืด แก้พิษฝีภายใน แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด

    ++ ใบ รสปร่าหอม แก้ไอ แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้ช้ำใน มีสารต้านมะเร็ง และดับกลิ่นคาว

    คนไทยใช้ผิวมะกรูดเป็นเครื่องเทศผสมในเครื่องแกง หลายชนิดของแกงเผ็ดและผัดเผ็ด ใส่ในน้ำพริก (ขนมจีน) น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร ดับกลิ่นคาว นิยมใส่น้ำมะกรูดในปลาร้าหลน ใส่แกงส้ม แกงเทโพ ใบมะกรูดโดยการฉีกหรือหั่นฝอยเพื่อกลบคาวหรือแต่งกลิ่นแกงเผ็ด ผัดเผ็ด ฉู่ฉี่ปลา แกงต้มส้ม ต้มยำ ห่อหมก ตำขนุน ข้าวยำปักษ์ใต้ ใส่ในเครื่องแกงทำทอดมันปลากราย ใช้ปรุงอาหารหลายอย่าง เช่น ต้มยำ แกงเผ็ด ทอดมัน ใช้โรยหน้าอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วเพื่อแต่งกลิ่น เช่น โรยหน้าข้าวเหนียวหน้ากุ้ง

    ** ข้อควรระว้ง ** น้ำมะกรูดมีฤทธิ์เป็นกรดแรง จะทำลายเคลือบฟันได้เวลาจิบน้ำมะกรูดพยายามให้ถูกฟันน้อยที่สุดและหลังจิบไป 2-3 ครั้งให้บ้วนปาก

    เวลาสระผมก็ควรให้ผมเปียกชุ่มทั่วๆ ก่อนจึงใช้มะกรูดสระเพื่อลดความเป็นกรดให้อ่อนลง cheers santa

      เวลาขณะนี้ Tue May 07, 2024 11:06 am